วันเสาร์ที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2555

งานปอยหลวงพัฒนาคุณภาพ1/55

เสร็จสิ้นไปด้วยพลังจากเจ้าหน้าที่ทุกคนที่ร่วมแรงร่วมใจ ทั้งส่วนผลงาน และ ส่วนที่เป้นการจัดงานปอย ...
อยากให้เกิดการมีส่วนร่วมหลังการจัดงานโดยการออกความคิดเห็นครับ ...

วันอังคารที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2555

ความคิดใหม่อีกแล้ว

เป็นไปได้หรือไม่ จัดตั้งผู้ประสานงานแบบใหม่  ต้องย้ำก่อนว่านี่เป็นวาบคิดนะครับ ... ไม่ได้ว่าจะเอากันจริง ถ้าได้ช่วยกันกลั่นกรองก็คงจะเป็นการก่อเกิดนวตกรรมได้บ้าง...
อยากให้เกิดทีมหรือศูนย์ประสานงานหรือเป็นเวทีประสานงานคุณภาพ จัดประชุมเพียงปี ละ 2 ครั้ง แล้วขับเคลื่อนไปพร้อมกัน
  1. ศูนย์ติดตามและกระตุ้นส่งเสริมการพัฒนาคุณภาพและบริหารความเสี่ยงบูรณาการการสร้างเสริมสุขภาพ
  2. ศูนย์ดูแลผู้มารับบริการและญาติ ครอบครัว 
  3. ศูนย์ดูแลบุคลากร
  4. ศูนย์งานสนับสนุนบริการ เพื่อผู้ป่วย ญาติ ครอบครัว และ คนทำงานด้วยกัน 
  5. ศูนย์ประสานงานปฐมภูมิและ ชุมชน และเครือข่าย 
  6. ศูนย์ยุทธศาสตร์และข้อมูลและเวชระเบียน
  7. ศูนย์ธำรงความเป็นวิชาชีพและจริยธรรม
7 พื้นที่ เป้าหมาย ในการพัฒนาร.พ. ขยับไปพร้อมกัน ทั้ง 7 จุด

แบบเป็นการประชุมใหญ่ เหมือนประชุมที่มีผลต่อการขับเคลื่อนอย่างมากๆ ในองค์กร


ปอยหลวงพัฒนาคุณภาพ27-30 มีนาคม 2555

เป็นวันแรกของการจัดงานปอยหลวงพัฒนาคุณภาพ ... มีผลงานพัฒนาคุณภาพเกิดขึ้นอยู่ 15 ชิ้นงาน
เป็นความพยายามในการพัฒนา หลังจากอบรมลีน ไปเมื่อสามเดือนก่อน .. โอยอ.อาภรณ์ จากสวนดอก .. 
วันนี้จึงเป็นการนำเสนอ เรื่องของ มาลีนมารวมกันเหอะ การนำเสนอในรูปแบบของ ปอยหลวง 
โดยมีการแบ่งเป็น สามโซน หน้า  ,กลาง , หลัง+บน แต่ละโซนจะออกไอเดียกันเองนะครับ 

ครับบรรยากาศ คึกคัก เริ่มที่การใช้บัตรเชิญ เลยดูแปลกตาไปกว่าทุกครั้ง มีการเชิญจิตอาสาชมรมผู้สูงอายุมาร่วมแจม อือม์มาเป็นแขกครับ เพื่อสร้างบรรยากาศของปอย ... มีนักดนตรีกีตาร์จิตอาสามาร่วมแจมให้ ผมเลยอดไม่ได้ไปร่วมแจมเสียสามเพลง ... ก่อนปิดงาน
ปอยหลวงเป็นการเชิญแขกมากินข้าวที่บ้าน แล้วก็มีการออมสตางค์ เพื่อเอาไป เป็นการทำบุญในวันสุดท้ายที่วัด เลยเกิดการประยุกต์ เป็ํนปอยหลวงพัฒนาคุณภาพครับ ..
วันนี้เป็นวันแรก เหลืออีกสามวัน ... วันสุดท้าย เป็น การขึ้นวัด คือ รวมกันทั้งหมด มีการนำเสนอ สุดยอดลีนประจำปอยนี้ ... 
ก็เป็นครั้งแรก ของพวกเราชาวดอยสะเก็ด ... การพัฒนาไม่มีวันหยุดยั้งครับ ... 
ได้บทเรียนมากมายครับ ... 
การนำเสนอ อาจต้องปรับปรุงให้ตรงประเด็นกับสิ่งที่เราตั้งใจทำ .. บอกได้เลยว่าทำอะไร ยังไง ผลเป็นยังไง แล้วก็จะปรับปรุงต่ออย่างไร เหมืิอนหลักที่เคยพูดไว้ตอนพบปะเจ้าหน้าที่ครับ หลัก 4ป. เป้าหมาย ปฏิบัติ ประเมิน ปรับปรุง  (ก็คล้ายๆกับ 3P-PDSAนั่นแหละครับ )

วันจันทร์ที่ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

INDICATOR DAY1/55

เมื่อวันที่ 22/2/55 ก.พัฒนาคุณภาพ ได้นำข้อมูลที่เป็นตัวชี้วัดที่ได้รวบรวมจากหน่วยงานต่างๆโดย พี่ไก่   ได้ทบทวนมีประเด็นที่ตัวชี้วัดตกเกณฑ์  และ มีหนวยงานที่ยังไม่ได้ส่ง ซึ่งได้ออกหนังสือแจ้งเร่งรัดไป เพื่อให้นำส่งภายในเดือนกุมภานี้
และ แผนพัฒนาของหน่วยงาน ก็ยังไม่ครบก็ได้เร่งรัดเหมือนกัน ท่ามกลางความเหนื่อยล้าของทั้งคนตามคนทำ ....
บางทีอาจจะต้อง นั่งคิดว่าถ้าทำงานร่วมกันจริงไม่เหนื่อย แต่ถ้ารู้สึกว่าแยกส่วนความเหนื่อยล้าเกิดขึ้นทันที  อาจต้องนั่งจับเข้าคุยกันว่างานแต่ละชิ้นที่ตามตามกันนั้นมีความสำคัญอย่างไร
แต่ว่า วันที่ 28/2/55 จะได้นัดกันอีกครั้งครับเพื่อนัดแนะ ICV พร้อมกันอีกครั้งครับ....

วันอังคารที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

สหสาขา(2)

มีประเด็นในเรื่องของ plan of care ที่มีในมาตรฐาน และก็เป็นจุดที่เราตกหล่นไปในการประเมินที่สำคัญ
น่าที่จะได้พัฒนาในขั้นตอนนี้ ตอนนี้ที่ PCT ได้ร่วมกันทดลองออกแบบ ได้ดำเนินการไป 1 ราย
จากการทดลองดำเนินการดูได้พบว่า ควรทำในตอนบ่าย ความถี่ได้เรื่อยๆ คนไข้ควรได้รับการวางแผนภายใน 48 ช.ม. ในกลุ่มผู้ป่วยที่แต่ละหน่วยงานได้รับการระบุ และ ในกรรมการได้มีการเสนอว่า ควรมีการประเมินซ้ำเพื่อวางแผนซ้ำในระยะเวลา 7 วัน หรือเมือ่มีการเปลี่ยนแปลง
เวลาในการดำเนินการในแต่ละราย ไม่ควรเกินครึ่งช.ม. ....
ในขระเดียวกันอาจมีการดำเนินการแบไม่เป็นทางการร่วมด้วยโดยวิธีอื่นก้ได้ ...
และขณะเดียวกัน ในการดำเนินการแบบเป็นกิจจะลักษณะอย่างนี้ น่าจะดำเนินไปด้วยบรรยากาศกัลยาณมิตร ไม่เหมือนมานำเสนอให้คุณครูในห้องเลคเชอร์ฟัง แต่เป็นการทำงานร่วมกัน แบบเพื่อนร่วมงาน ....
แต่ก่อนร.พ.เราก็เคยดำเนินการไป 1 ครั้ง ครั้งก็เสร็จไป 1 ครั้งหวังว่า หัวหน้าวอร์ดที่เกี่ยวข้องจะได้ช่วยผลักดันเรื่องให้ดำเนินต่อไปอย่างต่อเนื่อง พร้อมกับมีการปรับปรนุงอยู่ตลอดเวลาครับ ...
สมคบ 21/2/55

วันเสาร์ที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

การก่อกำเนิด สหสาขาอีกครั้ง

วันนี้ (17 ก.พ. 2555) ได้มีการสนทนากันอีกครั้งใน PCT ตามงาน ต่อเนื่องงานต่างๆ จากการเอานำดื่มเข้าแลกของพี่แจง  ก็หวังว่าจะได้ผลลัพธ์แห่งงาน ออกมา แต่ว่า ต้องอาศัยความร่วมมือของทุกผู้คนในองค์กร
การประชุม สาม ช.ม. จะสูญเปล่าถ้าไม่ได้นำไปปฏิบัติ ตรงนี้เป็นปัญหาของทุกร.พ. ก็ว่าได้
หัวใจที่อยากจะทำปัจจุบันให้ดีขึ้น ในแง่ในมุมที่เราสนใจ นั่นเป็น ค่านิยมที่สำคัญ

วันนี้เป็นน่าจะเกิดสิ่งดีดี (หวังว่า ) คือเรื่องของ การดูแลผู้ป่วยแบบสหสาขา ดูแลแบบจัดเต็มในผู้ป่วยที่ดูแลยาก ซับซ้อน หรือในระดับ สาม.สี่ หรืออาจะมี ข้อบ่งชี้หรือข้อกำหนดอื่นๆ อีก ...
วันจันทร์นี้จะเริ่ม ใช้เวลาไม่มากครับ แต่ หวังว่าจะมีประโยชน์ต่อผู้ป่วยเป็นอย่างมาก อีกโมเดลของการพัฒนาคุณภาพในการดูแลผู้ป่วยในร.พ. ดอยสะเก็ด ...

ได้ดำเนินการ ตาม แนวทางยุทธศาสตร์ 6 ป. ได้มีการนำคุยเรื่องของ 6 ป. พบว่ายังมีปัญหาในการดำเนินการที่ต่อเนื่องอยู่บ้าง ...

วันนี้ยังมีมุมมองเรื่องของกาารช่วยเหลือคนจนจน อีกด้วย .. แต่ยังไม่มีวิธีการบริหารจัดการเท่าไหร่ แต่ก็มีหนทางอยู่บ้าง ค่อยคุยกันในวันต่อไป

วันพฤหัสบดีที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

เรื่องเล่าการดูแลด้วยหัวใจแห่งความเป็นมนุษย์

เมื่อนวันแห่งความรัก ปี 2555 ที่ผ่านมา ร.พ.ดอยสะเก็ดได้เปิดวงเล่าเรื่องการดูแลด้วยหัวใจแห่งความเป็นมนุษย์ มีเรื่องเล่าส่งเข้ามา 13 เรื่องครับ ค่อยๆเล่าเรื่องในบรรยากาศเบาเบาสบาบสบาย นอนบ้างนั่งบ้าง
มีเรื่องเล่าทั้งนอกร.พ.และ ในร.พ. แต่เรื่องที่ได้รางวัลไปก็จัดเป็นเรื่องเล่าฟอร์มใหญ่ เหมือนหนังฟอร์มใหญ่ ก็ย่อมเบียดคู้แข่งตกไปเป็นธรรมดา ก็เป็นที่น่าสังเกตครับว่าเรื่องเล่าที่มาจากข้างนอกร.พ. เป็นการดูแลผู้ป่วยที่บ้าน เกิดความผูกพัน มีเรื่องราวที่หลายมิติ  ต่อเนื่อง เห็นภาพแห่งการส้รางเสริมสุขภาพ เห็นภาพของควาเมป็นมนุษย์ได้ยาว มีพลอตที่ดี ... แต่เรื่องการประกวด ก็เป็นกุศโลบายอย่างหนึ่งครับ
ผมคิดว่า การที่มีคนมาเล่าเรื่องราวในการดูแลผู้ป่วยด้วยหัวใจแห่งความเป้นมนุษย์ร่วมกัน เป็นเรื่องที่ดี เป็นเรื่องที่จะทำให้องค์กรหรือร.พ. ตลบอบอวลไปด้วยเรื่องราวแห่งความรักที่ดีงามต่อไป ขอเพียงผู้จัดได้มีความอดทนที่จะเปิดเวทีแห่งความรักนี้ต่อไป อย่างต่อเนื่อง ก็จะเห็นผลได้ในไม่ช้า แน่นอน ครั้งนี้ก็ถือเป็นครั้งที่สอง ที่ผมเห็น แต่ก็มีคนกระซิบตอนอยู่ในวงเล่า ว่า ก็เคยมีก่อนหน้านี้อีกเหมือนกัน
 เรื่องเล่าที่ไม่ใช่เป็นเรื่องฟอร์มใหญ่อย่างเรื่องของการขี่รถมอเตอร์ไซต์ไปส่ง คนไข้ที่ไม่มีรถกลับบ้าน ผมเชื่อว่าถ้ามีเรื่องราวที่มีการเอื้ออาทรอย่างนี้มาแบ่งปัน ร.พ. เราจะเกิดแผ่นดินแผ่นดินทองเลยนะครับ
เรื่องของพยาบาลที่เพียงแค่เอามือไปกุมมือของผู้ป่วยที่กำลังเคว้งคว้าง เพียงเท่านี้ครับ ก็เป็นการที่ได้ดูแลผู้ป่วยด้วยหัวใจอันยิ่งใหญ่ ... เรื่องราวของการซ่อมรถเครื่องให้ผู้ป่วย เรื่องของ การแนะนำผู้ป่วยเท่าที่เราจะทำได้ เรื่องของความรู้สึกที่มีให้กันในกลุ่มเจ้าหน้าที่ หรือกลุ่มผู้ป่วย ... การช่วยชีวิตผู้ป่วยจากการ   ที่ทำให้คนไข้ไม่ฆ่าตัวตาย  ความรู้สึกที่ทำงานให้เจ้าหน้าที่ด้วยกัน  ฯลฯ  ผมว่าเรื่องเล็กเล็กที่รวมกันเป็นหลายร้อยเรื่องก็จักเป็นตำนานที่น่าจดจำไม่รู้ลืม ด้วยความรัก ...
อีกสองเดือน น่าจะมีวงเล่า อย่างนี้อีกครั้ง ... ชวนกันมาเล่ามาฟังนะครับ ..
สมคบ ....


วันจันทร์ที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

รูปธรรมที่ง่าย

เราต้องคิดว่า รูปธรรมที่ง่ายที่สุด ที่สามารถตอบสิ่งที่เป็นนามธรรมได้้หลายประเด็น เป็นสิ่งที่เราต้องค้นหา
ถ้าเรามีวิธีง่ายๆ ไม่ต้องประชุม ไม่ต้องนัดเวลา แต่เป็นงานสหสาขา เป็นงานที่สามารถนำเอาเครื่องมือต่างๆมาใช้ ในการดูแลผู้ป่วยให้ดี ... วัดผลได้ตามเป้าหมายที่วางไว้ ในแต่ละราย ... น่าจะเป็นทางออกที่ดี ในการพัฒนาคุณภาพ
อย่างถ้าเราประชุมคนไข้ที่ดูแลทุกวี่ทุกวันโดยผ่านสหสาขา เลือกเอารายที่ดูแลยากหรือว่าซับซ้อน..ก็ไม่ซีเรียสเรื่องcriteria แต่ว่าน่าจะเป็นที่รู้กัน ..
อันนี้น่าจะทำให้เกิดการดูแลผู้ป่วยที่ดีขึ้นหรือเปล่า

ข้อเสนแนะจากสรพ.ต่อการพัฒนาอย่างต่อเนื่องปี 2555


ประเด็นแนะนำ กิจกรรมที่จะดำเนินการ
การมุ่งเน้นผู้ป่วย  
  สอบถามความต้องการของผู้มารับบริการ            
  นำความต้องการมาปรับปรุง
  วิเคราะห์ความเสี่ยงในขั้นตอนบริการที่มีโอกาสละเมิดสิทธิผู้ป่วย
  ประเมินความพึงพอใจทุก 3 เดือน
  แจ้งผลการประเมินความพึงพอใจกลับไปยังหน่วยบริการ

วันศุกร์ที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

3Pของคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพดอยสะเก็ด


สถานการณ์การพัฒนาคุณภาพ ร.พงดอยสะเก็ด ณ. วันที่ 1 ก.พ. 2555
การสื่อสารโรดแมบไม่ชัดเจน
การทำงานไม่เป็นขั้นตอน น่าจะเรียงลำดับไป
บางครั้งเกิดความกดดันและเซ็ง
ความเข้าใจเพิ่มขึ้นประมาณ 20%
มีการสื่อสารเพิ่มขึ้น
เกิดการมีส่วนร่วมของผู้ปฏิบัติเพิ่มขึ้น
ทีมคร่อมมีงานหนักมากขึ้น
ความกังวลมากขึ้น
เจ้าหน้าที่รับงานมากกว่า 1 ทีม ทั้งทั้งที่ ผ.อ.บอกว่าอนุญาตให้ปรับได้
เครียดเพิ่มขึ้น
รู้สึกด้อยค่า
การถ่ายทอดเข็มมุ่งดีขึ้น
การที่ผ.อ.เดินราวน์ทำให้คึกคักขึ้น
การเยี่ยมหน่วยงาน เป้าหมายไม่มีความชัดเจน
รางวัลมีผลกระตุ้นในกิจกรรมต่างๆ

เป้าหมายคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพ

เป้าหมาย

ตัวชี้วัด
1.       เพื่อสร้างระบบพัฒนาคุณภาพเชื่อมโยง ประสาน สอดคล้องกันทั้งร.พ.
·         ร้อยละ 100 ของหน่วยงานทีมคร่อม มีแผนพัฒนา
·         ทำตามแผนได้ 80%
2.       ทีมคร่อมสายงานและหน่วยงานต่างๆผลิตผลงานคุณภาพอย่างต่อเนื่อง
·         นวัตกรรม 1 เรื่องต่อหน่วยงาน/ทีมคร่อมสายงานต่อปี
·         CQI หน่วยงานละ 5 เรื่องต่อปี
·         R2R 5 เรื่องต่อปี(ทั้ง ร.พ.)
·         หน่วยงานการส่งผลงานร่วม 100%
·         HA scoring > 3.0
·          
3.       บริการที่มีคุณภาพและมาตรฐาน
·         PCA
·         ผ่านมาตรฐานสายใยรัก
·         HPH
·         ISO 15800
·         QA พยาบาล
·         มาตรฐานHAยาเสพติด
·         มาตรฐานสุขศึกษา
·         มาตรฐานอาชีวอนามัย
·         มาตรฐานควบคุมโรค
·         Healthy workplace







ยุทธศาสตร์การพัฒนาคุณภาพโรงพยาบาลดอยสะเก็ด
1.       ส่งเสริม/สนับสนุนหน่วยงานและทีมคร่อมสายงานให้เกิดการผลงานพัฒนาคุณภาพ
a.       นำเสนอผลงานของทีมคร่อมสายงาน
b.      สร้างบรรยากาศ
                                                               i.      ปอยหลวงการพัฒนาคุณภาพ
                                                             ii.      การเยี่ยมสำรวจภายใน
                                                            iii.      Leadership round
                                                           iv.      Doisaket credit plus system
                                                             v.      KM กับการพัฒนา
c.       ....
2.       พัฒนาการสื่อสาร
a.       Website
b.      Facebook
c.        
3.       พัฒนาระบบคุณภาพให้สอดคล้องกันทั้งโรงพยาบาล
a.       ประกาศเข็มมุ่ง
b.      ประกาศ 9 ภารกิจเพื่อยกระดับการพัฒนาคุณภาพ ร.พ.
c.       จัดทำ roadmap
d.      การจัดทำแผนพัฒนาคุณภาพ
e.      ติดตามตัวชี้วัด indicator day
4.       พัฒนาบุคลากรเรื่องการพัฒนาคุณภาพ
a.       กรรมการพัฒนาคุณภาพไปอบรมหลักสูตรต่างๆ เพื่อกลับมาถ่ายทอด
b.      อบรมศัพท์ HA
c.       คุยเล่นมาตรฐานแต่ละทีมคร่อม
d.      Workshop การเขียนแบบประเมิน
e.      พัฒนาระบบพี่เลี้ยง
5.       พัฒนาการทำงานเป็นทีม
a.       Inner award (หน่วยงานหรือทีมที่ตอบสนองลูกค้าภายในยอดเยี่ยม)
b.       p

การมุ่งเน้นผู้ป่วย

10 ก.พ. 55
มีมาตรฐานส่วนหนึ่งในตอน ที่ I-3 ตอนนี้ก็ให้แง่คิดเราเหมือนกัน วันนี้เพิ่งทบทวนในอนุกรรมการพัฒนาระบบบริการ ซึ่ง เกิดอุปสรรคในเรื่องคนไข้ที่มาหนาตามาก ... ทำให้การสนทนาต้องลดเวลาลงไปอย่างมาก ประเด็นของ มาตรฐานตอนนี้คือแบ่งออกมาได้สามตอน ตอนแรกเป็นเรื่องของการสร้างความรู้จักกับกลุ่มที่มารับบริการ ตอนสอง เป็นเรื่องของการสร้างความสัมพันธ์ เลยไปถึงเรื่องระบบร้องเรียนและผลการประเมินความพึงพอใจ  ตอนที่สามเป็นเรื่องของสิทธิผู้ป่วย และการดูแลผู้ป่วยกลุ่มพิเศษ...
กิจกรรมที่น่าจะทำ ตามความรู้สึกของผมคือ
1. แต่ละจุดต้องแบ่งกลุ่มลุกค้าของตนก่อน เพื่อที่จะ หาความต้องการแล้วจัดการตอบสนอง
2. พัฒนาวิธีการหาความต้องการ
3. พัฒนาวิธีการวัดความพึงพอใจ
4. สรุปสิ่งที่พัฒนาอันเนื่องมาจาก แบบสอบถามความพึงพอใจ
5. การหาวิธีสอบถามหลังจากมารับบริการ
6. วิเคราะห์ กระบวนการ ดูแลผู้ป่วยของหน่วยงานเรา แล้ววิเคราะห์ว่าตรงไหนมีโอกาสที่ละละเมิดสิทธิผู้ป่วยมากที่สุด แล้วเราทำยังไงกับจุดอ่อนนั้น
7. เอาคำถามไปซ้อมในหน่วยงาน

แล้วอนุกรรมการพัฒนาระบบบริการชุดนี้ก็จะดำเนินการต่อไป ตามแนวทางที่ได้สนทนาไว้
....

rally EMS 8ก.พ.55

8 ก.พ. 2555
การเรียนรู้บนอารมณ์สนุกสนาน ก็ทำให้เกิดการเรียนรู้ที่ดี ... มี 6 ฐาน ที่เป็นการทดสอบ
ฐานแรก ที่ทีมเราพบคือ ฐานช่วยเด็กที่มีอาหารติดคอแล้วก็เกิด arrest ที่เราได้เรียนคือว่า อัตราการกดหัวใจในเด็ก เกือบโต เป็น 15:2 ฐานสอง  เป้นฐาน ผู้ป่วยเกิดอุบัติเหตุใส่หมวกกันน๊อค มี BP drop ฐานสาม เป็นเรื่องของการเกิด arrest ธรรมดา  ฐานสี่ เด็กเกิดใหม่ arrest และ แม่เกิด PPH ฐานนี้เพราะไม่รู้dose เด็กแรกเกิด และ ลืมเรื่อง bimanual เพื่อทำให้มดลูกแข็ง   ฐานห้า เป็นฐานเกิดอุบัติเหตุหมู่ อันนี้ทำไม่เสร็จ  ฐานหก คนจมน้ำ เกิด VF,VT ฐานนี้ชอตคนไข้โดยไม่เช็ดตัวทำให้คะแนนตก  ... ก็เป็นการเรียนรู้ที่ท่ามกลางการลงทุนอันมหาศาลของ สสจ. แต่ ว่าก็ได้ความรู้ที่เพิ่มขึ้น .. นั่นแสดงถึงการเรียนรู้ของคนนั้นไม่ใช่อยู่แต่ในห้องเรียนเพียงอย่างเดียว   ย้อนนึกมาที่ร.พ. เราจะสร้างบรรยากาศแห่งการเรียนรู้ในการทำงานได้ยังไง ให้รู้สึกว่าเราปลอดภัยแม้ว่าเราพลาด ...
มันต้องมีการซ้อมเหมือนกัน ซ้อมทำ ซ้อมปฏิบัติ เพื่อการทำที่มีประสิทธิภาพ เริ่มเห็นความสำคัยของการซ้อม ไม่ว่าจะเป็นการซ้อมบนโต๋ะ ซ้อมจริง แต่ว่าเรื่องคำที่ว่ายังไงก็ไม่เหมือนจริงอันนี้ก็คงมีบ้าง ... แต่เป็นเหมือนการซักซ้อม ที่จะให้เห็นโอกาสในการปรับปรุงตัวเรามากขึ้น
..... นายสมคบ



วันอังคารที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

PCT world cafe SIMPLE2


PCT_world cafe SIMPLE2

จากครั้งที่ 1 เมื่อประมาณกลางปีก่อน ได้มีการประชุม พูดคุยว่าเราจะทำ _SIMPLE ประเด็นใดบ้าง...
วันนี้ 6 ก.พ. 55 จึงได้...
เปิดวงสนทนาเกี่ยวกับเรื่องของ SIMPLE โดยเริ่มที่เรื่อง ของ การระบุตัวผู้ป่วย เริ่มวงด้วยการนำสนทาโดยพี่แจง โดยใช้ gap analysis เป็นเครื่องมือ ได้เหมือนการทบทวนว่าที่เราเป็นอย่างไร
แล้วก็ตบด้วยว่า อยากให้ฝันเราเป็นอย่างไรในประเด็นเรื่องของการระบุตัวผู้ป่วยแล้วก็ต่อไปข้างหน้าด้วยการวางแผน พร้อมตบด้วยการทำการบ้านเพื่อเป็นการให้แต่ละหน่วยงานไปชวกันคุยในประเด็นที่ตัวแทนมาร่วมสนทนา ว่ามีโอกาสเกิดความผิดพลาดในขั้นตอนใดในกระบวนการดูแลผู้่ป่วยบ้าง แล้วก็นำมาส่งที่ PCT น่าจะเสร็จกันภายในเดือนนี้
....
แต่ได้บทเรียนว่าการสนทนาแล้วผลน่าจะออกมาเป็นรูปธรรม ...และต้งอเอาคามจริงมาพูดคุยกันเรียกได้ว่ายอมรับสถานการณ์จริงเพื่อจะพัฒนาปรับปรุงต่อไป
....เอกสารดาวน์โหลดได้(สรุปการประชุมสรุปการระบุตัวผู้ป่วย..กำลังปรับปรุง)

SAFETY HOSPITAL FESTIVAL 1/55


safety hospital festival ครั้งที่1/55

เป็นครั้งแรกของปี 2555 โดยมีกิจกรรมในสามภาคส่วนคือ
1. ส่วนนิทรรศการ

2. ส่วนการนำเสนอผลงาน

3. ส่วนการเดินราวน์ของผู้อำนวยการ

ทำให้เกิดความตื่นตัวกันทั่วทั้งองค์กร มีหน่วยงานร่วมส่งผลงาน เกือบครบทุกหน่วยงาน แต่ก็มีบางส่วนที่มาร่วมนำเสนอ ... ได้ข้อคิดคือว่าอยากให้มีคนมาร่วมฟังการนำเสนอมากกว่านี้ อาจมีความสับสนในเรื่องของเรื่องที่จะเสนอ แต่ก็ถือว่ามีการเสนอเรื่องราวที่ได้พัฒนา แต่ไม่ตรงคอนเซบงาน แต่ก็เป็นเรื่องที่ดีอยู่ที่มีผลงานำนเสนอ ครับ หลังจากเสร็จงานก็มีการสนทากันในทีมเพื่่อปรับปรุงกิจกรรมต่อไป
และดูที่จะตื่นตัวเป็นพิเศษ คือการเดินเยี่ยมของผู้อำนวยการ สร้างความตื่นตัวและ คึกคัก  แต่มีบ้างที่อาจจะรู้สึกเหมือนถูกจู่โจม ไม่ได้บอกล่วงหน้ารู้สึกกดดัน ... ก็มีทั้งสองด้าน แต่ถ้าได้เตรียมตัวตามคำถามในโอกาสต่อไป ก็จะสามารถทำให้องค์กรเกิดการพัฒนาได้  และ เ็ป็นโอกาสดีที่หน่วยงานได้ทำความเข้าใจกับเรื่องของความเสี่ยง และ SIMPLE  ซึ่งทางRM จักได้ดำเนินงานต่อในเรื่องดังกล่าวต่อไป ...

ประเด็นความเสี่ยงต่อไป ของหน่วยงานคือ
1. การประสานโปรแกรมที่จะปรับเรื่องระบบบริการกับการดูแลผู้ป่วยมาไว้ด้วยกัน
2. การจัดทำบัญชีความเสี่ยงพร้อมมาตรการ ให้เป็นบัญชีที่มีชีวิตชีวา
3.เรื่องของใบIR และ การทำ RCA ที่จะมีการเพิ่มในการติดตามว่าได้ทำ RCA ดีแล้วหรือยัง
4. เรื่องของวัฒนธรรมความปลอดภัย

....
สมคบ...7/2/55

วันจันทร์ที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2555

คำคม สะดุดใจ

อย่าไปให้ความสำคัญกับใครบางคน เมื่อคุณเป็นแค่ทางเลือกของเขา.
สัมพันธภาพจะดีที่สุดเมื่อทั้งสองฝ่ายให้ความสำคัญกันอย่างสมดุลย์
 
ไม่ต้องสาธยายเกี่ยวกับตัวคุณให้ใครฟังหรอก
เพราะคนที่ชอบคุณ ยังไงเขาก็ชอบ และไม่ต้องการฟังมัน
แต่คนที่เกลียดคุณ ยังไงเขาก็ไม่เชื่อคุณหรอก
 
เมื่อคุณพูดแต่ว่าคุณยุ่ง คุณก็จะไม่ว่างเลย
เมื่อคุณพูดแต่ว่าคุณไม่มีเวลา คุณก็จะไม่มีเวลาเลย
เมื่อคุณพูดแต่ว่าคุณจะทำในวันพรุ่งนี้ วันพรุ่งนี้จะไม่มีวันมาถึง

วันศุกร์ที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2555

PCT world cafe (2)

ผมมีความคิดการแก้ไขใบ IR นั้น เมื่อได้มาต้องมีการสนทนาพูดคุยกันระหว่างผู้ที่เกี่ยวข้องในเหตุการณ์นั้นนั้น .. ผมคิดว่าดีมากกว่า การตอบแบบจดหมาย กลับมา โดยปราศจากการพูดคุย
การเกิดไอเดีย PCT world cafe ครั้งนี้ นับว่าเป็นนิมิตหมายใหม่ อาจจะยังไม่รู้สึกใหม่ แต่ผมว่าใหม่ในความรู้สึกของผม ... ครั้งแรกที่ผ่านมา มีการเปิดวงสนทนาสองวง แต่ยังมีปัญหาว่าบางเรื่องนั้นเกี่ยวกับ วงคร่อมสองวง ทำให้ตอนปลายปลายของการสนทนา จะต้อง ยุบวงมาเป็นวงเดียว แล้วคนที่ไม่เกี่ยวก็สามารถกลับได้ .. จะว่าไปน่าจะเกิดเป็นวงที่สามมากกว่า ในเวลาการประชุมสองสามช.ม. .... แต่ก็มีประเด็นคิดที่น่าสนใจว่า บางท่านบอกว่าถ้ามีมุมมอง ที่แตกต่างนอกจาก คู่กรณีกันแล้ว ... อาจมีมุมมองที่แตกต่างไปได้เพื่ก่อเกิดทางเลือกที่สามที่สร้างสรรค์ ...
ถ้าคนที่ได้ใบIR มีการพูดคุยกันใในหน่วยงานมาก่อนยิ่งเป็นเรื่องที่ดี ครับ
นัดต่อไป ครั้งที่สอง จะเกิดขึ้นในวันที่ 30 ม.ค. 55 เรื่องของการบริหารจัดการการดูแลผู้ป่วยบริเวณจุดรอยต่อ ... เชื้อเชิญผู้สนใจได้ที่ชั้นสอง นะครับ ...

วันอาทิตย์ที่ 22 มกราคม พ.ศ. 2555

PCT world Cafe

กิจกรรมใหม่จากการระดมสมองกันคิดในการตอบใบ IR
เริ่มครั้งแรก จันรทร์ 23 ม.ค. 55 ครับ
เชื้อเชิญ หน่วยงานบริการพบกันชั้นสอง ครับ

วันพฤหัสบดีที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2555

เวทีคุณภาพ สนทนาเรื่องขององค์กรพยาบาล19 ม.ค. 55

ประเมินตนเองได้ประมาณ 3
แต่พอจะคิดตอบเรื่องของ SAR ตอนแรกก็ไม่ยาก แต่พอเริ่มลงเรื่องของ ตอนสอง มันเป็นเรื่องของการทำ miniresearch ก็ทำให้เกิดอาการมึนงงไปอีกบ้าง แต่ก็ได้มีการมอบหมายในการดำเนินงานเพื่อการสานต่อไปแล้ว
ก็ถือว่าน่าจะไม่ยากเกินไปสำหรับความสามารถของ พยาบาลดอยสะเก็ดแน่นอนครับ
ผมว่าน่าจะเริ่มที่เรื่องของ หน้าที่ขององค์กรพยาบาล

  1. การกำกับดูแลมาตรฐานและจริยธรรมของผู้ประกอบวิชาชีพ+สิทธิผู้ป่วย +miniresearch
  2. การนิเทศ กำกับดูแล ปฏิบัติการทางการพยาบาล
  3.  ส่งเสริมการพัฒนาคุณภาพและความปลอดภัยในการดูแลผู้ป่วย
  4. การส่งเสริมการใช้กระบวนการพยาบาล +miniresearch
  5. การส่งเสริมการตัดสินใจทางคลินิกและการใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสม  + miniresearch การใช้ข้อมูลวิชาการและมาตรฐานวิชาชีพ
  6. การควบคุมดูแลการปฏิบัติงานของบุคลากรทางการพยาบาลที่อยู่ระหว่างการฝึกอบรม
  7. การจัดการความรู้และการวิจัยเพื่อส่งเสริมการพัฒนาวิชาชีพ
  8. การจัดทีมผู้บริหาร
  9. การจัดอัตรากำลัง
  10. การดูแลที่เป็นองค์รวม สอดคล้องกับภาวะสุขภาพวิถีชีวิตและบริบททางสังคม +miniresearch
โดยหลักการตอบเป็น 3P 






วันพุธที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2555

เวทีคุณภาพ 18 ม.ค. 55

วันนี้ ตอนบ่ายๆ ได้เชื้อเชิญหัวหน้าหน่วยงานมาร่วมกันสนทนาเรื่องง่ายๆ สอง เรื่อง คือ
1. การจัดทำแผนพัฒนาคุณภาพ
2. เรื่องของการเลือกหัวหน้าปอยหลวง
ตอนนี้ได้ หัวหน้าโซนปอยหลวง แล้ว จะได้เชื้อเชิญสนทนากันอีกครั้ง 1 ก.พ. 2555 เพื่อติดตามปัญหาหรือความคับข้องใจ ในการดำเนินงานต่อไป
เรื่องการทำแผนก็มีในเวทีได้เสนอว่าให้จัดทำแบบฟอร์มไว้ ผมเอาขึ้นเวบไว้ให้นะครับ ... คลิกที่เวบทดลอง การพัฒนาคุณภาพร.พ.ดอยสะเก็ด  ....
แล้วมีกำหนดส่งในวันแห่งความรัก   และก็มีแวบไอเดียจากกรรมการพัฒนาคุณภาพ บอกว่า เราจะจัดวันแห่งความรักได้ไหมเนี่ย ... เลยสมทบความคิดว่า อือม์ จัดงานการดูแลผู้ป่วยด้วยความรัก จะดีหรือเปล่า
อาจจะมี พิธีกรรม อะไรซักอย่าง ว่าเราจะดูแลผู้ป่วยด้วยความรัก ด้วยหัวใจแห่งความเป็นมนุษย์ แล้วก็มีการทบทวนกระบวนการดูแลผู้ป่วยที่จะมีโอกาสพัฒนาในเรื่องการดูแลด้วยหัวใจแห่งความเป็นมนุษย์ เพ่ิมความปราณีต ละเอียดอ่อน จุดที่เราได้ละเลยไปบ้างตามประสา ตามกระแสหรือตามที่เราไม่ได้ตั้งสติอย่างเพียงพอ .... แล้วก็พัฒนาเป็นร.พ.แห่งความรักได้อีกรูปแบบหนึ่ง ..อือม์ ..... ช่วนกันคิดต่อดีไหมครับ


วันจันทร์ที่ 9 มกราคม พ.ศ. 2555

ENV กับการพัฒนาคุณภาพ

วันนี้ผมได้มีโอกาสพูด และ ฟัง ทีมENV และได้ร่วมสนทนาประเด็นเรื่องของมาตรฐาน HA กับการทำงาน ENV ... ซึ่งได้มีการแบ่งงานเพื่อติดตาม การพัฒนาทั้งร.พ. ในประเด็น ของ ENV ได้ครบถ้วน ...
ซึ่งก็ไม่น่ายากเกินความสามารถของชาวร.พ.ดอยสะเก็ดนะครับ
ผมได้อ่านมาตรฐาน พร้อมกับการทบทวนร่วมกันกับทีม รู้สึกว่า เครื่องมือที่สำคัญในการพัฒนาน่าจะเริ่มที่ ห้าส. ครับ เราเอา 5 ส.มาต่อยอดเป็นเรื่องของการปรับปรุงสิ่งแวดล้อม ได้สบายสบาย แล้วเราเชื่อมห้าสอ. กับความรู้สึกดีดีกับ การให้บริการผู้ป่วย ด้วยเรื่องของการส้รางเสริมสุขภาพ เพื่อจัดทำมุมเพื่อการพัฒนาทักษะสุขภาพ  แสะสามารถต่อยอดให้กลายเป็น สิ่งแวดล้อมเพื่อการเยียวยา และ ดูแลความรู้สึกของผู้มารับบริการได้ ...
เอา 5 ส. มาต่อกับเรื่องของลีน  เอาลีนมารวมกับเรื่องของบัญชีความเสี่ยง พร้อมกับสร้างมาตรการป้องกันความเสี่ยง

และใช้อีกเครื่องมือที่ทีม จป.ได้ดำเนินการไป คือเรื่องของการ env round จป.ราวน์ เพื่อเป็นการหาความเสี่ยงเชิงรุกและการพัฒนาแบบมีส่วนร่วมได้ดี มากมาก

หวังว่าการเอามาตรฐานมาคุยกันเล่นทำให้ผู้คนไม่รู้สึกกลัวหรือชัง ต่อมาตรฐาน แต่เอามาตรฐานมาเป็นเครื่องมือในการพัฒนาร.พ. ....



ขอบคุณตึกหญิงครับ

วันนี้ได้รับการกรอกข้อมูลจากตึกหญิงเป็นหน่วยงานแรกที่ได้ส่งข้อมูลผ่านเวบไซต์ ก้ได้ข้อมูลครบถ้วนแล้วครับ ในเรื่องของ 3P ต่อไป ก็สามารถส่งความคืบหน้าการพัฒนามาได้เป้นระยะระยะนะครับ ...
แต่เวลาแนบไฟล์คลิกที่แทบฝากไฟล์ได้เลยครับ จะเก็บข้อมูลไว้ ที่ศูนย์คุณภาพ ... ฝากไฟล์ได้ทุกอย่างไม่ว่าจะเป็นเอกสารที่อยากเผยแพร่เพื่อเป็นวิทยาทาน หรือ เป็นรูปที่อยากนำขึ้นเวบได้ครับ


วันศุกร์ที่ 6 มกราคม พ.ศ. 2555

PCTกับ LBW

เวที tracer LBW
6/1/55
วันนี้ PCT ได้ทำ tracer ตามแผน แต่ได้งานออกมาอีก 10 งาน เพิื่อที่จะำัฒนาให้ ผู้ป่วย LBW ลดลง
นี่เป็นเป้าหมายของทีมงานหลายคนที่เกี่ยวข้องต้องดำเนินงานกันต่อไปอีก ...
พบในเบื้องต้นว่า ปัญหาของ LBW เกิดจกกปัจจัย สำคัญคือเรื่องของ เกิดก่อนกำหนด และ ภาวะโภชนาการของแม่   ซึ่ง เป็นปัจจัยที่ทำได้ยากทั้งสอง แต่ก็ยังไม่ถึงขั้นทำอะไรมไ่ด้ครับ
ปัญหาของเราอีกอย่างคือว่า หมอที่ปลายทางก็มีความหลากหลายรูปแบบสูงมาก  ทำให้หามาตรฐานการดูแลได้ยากนัก
แต่ก็ยึดตามคู่มือเดิมที่มีอยู่ ก็น่าจะพอได้
ได้บทเรียนจากการตามรอยวันนี้ว่า เรื่องระบบข้อมูลที่จะนำมาอ้างอิงนี้สำคัญมากมาก ....

การพัฒนาคุณภาพที่PCU

5/1/55 .... เวทีสนทนาเรื่องของการพัฒนาคุณภาพที่ PCU เชิงดอย
สมาชิกPCU มากันครบครัน อุ่นเครื่องด้วยการหาว่าปัญหาของกลุ่มเป้าหมาย เราคืออะไร ...
มีการสนทนาเรื่อวของ 3P และ เริ่มเข้าเนื้อหาของมาตรฐาน ... มีงานอยู่ประมาณ 10 หมวด หลักหลักของ มาตรฐานข้อนี้คือเรื่องของ กฎบัตรออตตาวา  ... นั่นเอง
พี่ีพี่ประเมินตนเองไว้ที่ 5 .... ก็เป็นหน่วยงานอีกหน่วยนะครับ ที่กำลังจะเริ่มนำมาตรฐานมาคุยเล่น และ ำนสู่แผนพัฒนาคุณภาพ ..
เจ้าหน้าที่บอกว่าเข้าใจ แต่ลำบากใจเวลาเขียน ..ง ผมเลยบอกว่า ตอนนี้ทางสรพ.เองก็ลดการเขียนลงมามากแล้วน่าที่จะดำเนินงานได้ง่ายขึ้นโดยเน้นที่การพัฒนาก่อน แล้วค่อยมาเขียนกันทีหลัง
ได้บทเรียนครับ

ปอยหลวงพัฒนาคุณภาพครั้งที่1/55

วันที่ 4 มกราคม 2555 ช่วงบ่ายได้เปิดวงสนทนากันเรื่องของ สถานการณ์ปัจจุบัน ของการพัฒนาคุณภาพ ยกเรื่องการอบรมลีนมาก่อน ... ว่าเราจะต่อกันยังไง ... สุดท้าย ถ้าจะให้มีกาารกำหนดเวลาพบปะกันอย่างเป็นทางการคงทำกันยาก ... กลับมาสู่สามัญ ว่าเราต้องใช้เวลากันอย่างไม่เป็นทางการ ในการหารือ หรือ พบปะสนทนา ซึ่งจะได้มากเรื่องมากกว่า ...
หลายคนในเวทีซึ่งเป็นกรรมการพัฒนาคุณภาพ .. เห็นพ้องต้องกันว่า ลีนต้องมาพูดคุยกัน มากมาก ..ง
แล้วเราจะต่อกันยังไง .. ตกลงกันว่า จะจัดงานให้มานำเสนอเหมือนกับงาน safety hospital festival แต่จะจัดรูปแบบกันยังไงดี ได้ไอเดียมาจากเรื่องการจัดปอยหลวง เอามาประยุกต์กับการนำเสนอ กลายเป็นปอยหลวงพัฒนาคุณภาพ เน้นเรื่องลีน .. ให้โอกาสกับเจ้าหน้าที่มีส่วนร่วมในการจัดและเป็นการเสริมสร้างความสามัคคีในหมู่คณะ ...โดยแบ่งเป็น สามโซน โซนนี้เฉพาะเรื่อง ของการจัดงาน ไม่ได้รวมไปถึงการลีน เพราะว่าลีนก็เป็นแล้วแต่ระดับว่าลีนอนุบาลลีนประถมลีนมัธยม ซึ่งตรงนี้ปล่อยให้เกิดแบบอิสระ ...
มีรางวัลมากมายเป็นการเพิ่มแรงจูงใจในการดำเนินงานแม้ไม่มาก แต่ก็อยากลองในการเปลี่ยนแปลงรูปแบบดูบ้างเป็นการทำงานเชิงทดลอง ... เพราะยังคิดรูปแบบอื่นไม่ได้มากกว่านี้ ...
ได้พูดคุยกับหน่วยงานต่างๆต่อมาในวันศุกร์ ทำความเข้าใจ กัน พร้อมรับฟังข้อเสนอแนะ จากหน่วยงานต่างๆ มีคำถามที่น่าสนใจมากว่า ทำแบบนี้แล้วจะมีคนมาร่วมเยอะมากขึ้นจริงหรือเปล่า ... ก็ต้องรอดูในวันงานนะครับ 5-9 มีนาคม 2555 แล้วคอยมาแลกเปล่ียนเรียนรู้กันต่อไป .. ผิดเป็นครู ถูกเป็นประสบการณ์ ...

วันอาทิตย์ที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2555

HA ฉบับปิดท้ายปี 2554

1/1/55
ผ่านไปกับมหกรรมแห่งการจัดงานก่อนสิ้นปี ด้วยความร่วมมือของหลายฝ่าย ... และ มมาบรรจบกันโดยบังเอิญ   ตั้งแต่งานล้างมือของ IC  งานนำเสนอ 3P ของก.พัฒนาคุณภาพ และ ปิดท้ายด้วยเทศกาลร.พ.แห่งความปลอดภัย ของก. RM แต่ ก็ช่วยกันไปมา ของแต่ละทีม พร้อมกับต้องขอบคุณผู้เข้าร่วมงานทุกท่านนะครับ
มีบทเรียนดีดีมากมาย และ มีประเด็นต้องปรับปรุงต่อไป อยู่หลายเรื่อง
โดยเฉพาะประเด็นที่พบจากการราวน์ของผู้อำนวยการ (leadership safety round ) ก็พบว่า เรื่องราวหลายเรื่องไม่ไปถึงผู้ปฏิบัติ จะทำยังไงกันต่อ เป็นโจทย์ต่อไป ... การมีส่วนร่วมจริงจริงต้องเป็นคำตอบ หรือเปล่า ...  ร่วมกันคิดร่วมกันทำ สงสัยจะถึงเวลามาร่วมกันยกเลิกวัฒนธรรมทำการบ้านส่ง  กันแล้วครับ