วันเสาร์ที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2555

งานปอยหลวงพัฒนาคุณภาพ1/55

เสร็จสิ้นไปด้วยพลังจากเจ้าหน้าที่ทุกคนที่ร่วมแรงร่วมใจ ทั้งส่วนผลงาน และ ส่วนที่เป้นการจัดงานปอย ...
อยากให้เกิดการมีส่วนร่วมหลังการจัดงานโดยการออกความคิดเห็นครับ ...

วันอังคารที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2555

ความคิดใหม่อีกแล้ว

เป็นไปได้หรือไม่ จัดตั้งผู้ประสานงานแบบใหม่  ต้องย้ำก่อนว่านี่เป็นวาบคิดนะครับ ... ไม่ได้ว่าจะเอากันจริง ถ้าได้ช่วยกันกลั่นกรองก็คงจะเป็นการก่อเกิดนวตกรรมได้บ้าง...
อยากให้เกิดทีมหรือศูนย์ประสานงานหรือเป็นเวทีประสานงานคุณภาพ จัดประชุมเพียงปี ละ 2 ครั้ง แล้วขับเคลื่อนไปพร้อมกัน
  1. ศูนย์ติดตามและกระตุ้นส่งเสริมการพัฒนาคุณภาพและบริหารความเสี่ยงบูรณาการการสร้างเสริมสุขภาพ
  2. ศูนย์ดูแลผู้มารับบริการและญาติ ครอบครัว 
  3. ศูนย์ดูแลบุคลากร
  4. ศูนย์งานสนับสนุนบริการ เพื่อผู้ป่วย ญาติ ครอบครัว และ คนทำงานด้วยกัน 
  5. ศูนย์ประสานงานปฐมภูมิและ ชุมชน และเครือข่าย 
  6. ศูนย์ยุทธศาสตร์และข้อมูลและเวชระเบียน
  7. ศูนย์ธำรงความเป็นวิชาชีพและจริยธรรม
7 พื้นที่ เป้าหมาย ในการพัฒนาร.พ. ขยับไปพร้อมกัน ทั้ง 7 จุด

แบบเป็นการประชุมใหญ่ เหมือนประชุมที่มีผลต่อการขับเคลื่อนอย่างมากๆ ในองค์กร


ปอยหลวงพัฒนาคุณภาพ27-30 มีนาคม 2555

เป็นวันแรกของการจัดงานปอยหลวงพัฒนาคุณภาพ ... มีผลงานพัฒนาคุณภาพเกิดขึ้นอยู่ 15 ชิ้นงาน
เป็นความพยายามในการพัฒนา หลังจากอบรมลีน ไปเมื่อสามเดือนก่อน .. โอยอ.อาภรณ์ จากสวนดอก .. 
วันนี้จึงเป็นการนำเสนอ เรื่องของ มาลีนมารวมกันเหอะ การนำเสนอในรูปแบบของ ปอยหลวง 
โดยมีการแบ่งเป็น สามโซน หน้า  ,กลาง , หลัง+บน แต่ละโซนจะออกไอเดียกันเองนะครับ 

ครับบรรยากาศ คึกคัก เริ่มที่การใช้บัตรเชิญ เลยดูแปลกตาไปกว่าทุกครั้ง มีการเชิญจิตอาสาชมรมผู้สูงอายุมาร่วมแจม อือม์มาเป็นแขกครับ เพื่อสร้างบรรยากาศของปอย ... มีนักดนตรีกีตาร์จิตอาสามาร่วมแจมให้ ผมเลยอดไม่ได้ไปร่วมแจมเสียสามเพลง ... ก่อนปิดงาน
ปอยหลวงเป็นการเชิญแขกมากินข้าวที่บ้าน แล้วก็มีการออมสตางค์ เพื่อเอาไป เป็นการทำบุญในวันสุดท้ายที่วัด เลยเกิดการประยุกต์ เป็ํนปอยหลวงพัฒนาคุณภาพครับ ..
วันนี้เป็นวันแรก เหลืออีกสามวัน ... วันสุดท้าย เป็น การขึ้นวัด คือ รวมกันทั้งหมด มีการนำเสนอ สุดยอดลีนประจำปอยนี้ ... 
ก็เป็นครั้งแรก ของพวกเราชาวดอยสะเก็ด ... การพัฒนาไม่มีวันหยุดยั้งครับ ... 
ได้บทเรียนมากมายครับ ... 
การนำเสนอ อาจต้องปรับปรุงให้ตรงประเด็นกับสิ่งที่เราตั้งใจทำ .. บอกได้เลยว่าทำอะไร ยังไง ผลเป็นยังไง แล้วก็จะปรับปรุงต่ออย่างไร เหมืิอนหลักที่เคยพูดไว้ตอนพบปะเจ้าหน้าที่ครับ หลัก 4ป. เป้าหมาย ปฏิบัติ ประเมิน ปรับปรุง  (ก็คล้ายๆกับ 3P-PDSAนั่นแหละครับ )

วันจันทร์ที่ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

INDICATOR DAY1/55

เมื่อวันที่ 22/2/55 ก.พัฒนาคุณภาพ ได้นำข้อมูลที่เป็นตัวชี้วัดที่ได้รวบรวมจากหน่วยงานต่างๆโดย พี่ไก่   ได้ทบทวนมีประเด็นที่ตัวชี้วัดตกเกณฑ์  และ มีหนวยงานที่ยังไม่ได้ส่ง ซึ่งได้ออกหนังสือแจ้งเร่งรัดไป เพื่อให้นำส่งภายในเดือนกุมภานี้
และ แผนพัฒนาของหน่วยงาน ก็ยังไม่ครบก็ได้เร่งรัดเหมือนกัน ท่ามกลางความเหนื่อยล้าของทั้งคนตามคนทำ ....
บางทีอาจจะต้อง นั่งคิดว่าถ้าทำงานร่วมกันจริงไม่เหนื่อย แต่ถ้ารู้สึกว่าแยกส่วนความเหนื่อยล้าเกิดขึ้นทันที  อาจต้องนั่งจับเข้าคุยกันว่างานแต่ละชิ้นที่ตามตามกันนั้นมีความสำคัญอย่างไร
แต่ว่า วันที่ 28/2/55 จะได้นัดกันอีกครั้งครับเพื่อนัดแนะ ICV พร้อมกันอีกครั้งครับ....

วันอังคารที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

สหสาขา(2)

มีประเด็นในเรื่องของ plan of care ที่มีในมาตรฐาน และก็เป็นจุดที่เราตกหล่นไปในการประเมินที่สำคัญ
น่าที่จะได้พัฒนาในขั้นตอนนี้ ตอนนี้ที่ PCT ได้ร่วมกันทดลองออกแบบ ได้ดำเนินการไป 1 ราย
จากการทดลองดำเนินการดูได้พบว่า ควรทำในตอนบ่าย ความถี่ได้เรื่อยๆ คนไข้ควรได้รับการวางแผนภายใน 48 ช.ม. ในกลุ่มผู้ป่วยที่แต่ละหน่วยงานได้รับการระบุ และ ในกรรมการได้มีการเสนอว่า ควรมีการประเมินซ้ำเพื่อวางแผนซ้ำในระยะเวลา 7 วัน หรือเมือ่มีการเปลี่ยนแปลง
เวลาในการดำเนินการในแต่ละราย ไม่ควรเกินครึ่งช.ม. ....
ในขระเดียวกันอาจมีการดำเนินการแบไม่เป็นทางการร่วมด้วยโดยวิธีอื่นก้ได้ ...
และขณะเดียวกัน ในการดำเนินการแบบเป็นกิจจะลักษณะอย่างนี้ น่าจะดำเนินไปด้วยบรรยากาศกัลยาณมิตร ไม่เหมือนมานำเสนอให้คุณครูในห้องเลคเชอร์ฟัง แต่เป็นการทำงานร่วมกัน แบบเพื่อนร่วมงาน ....
แต่ก่อนร.พ.เราก็เคยดำเนินการไป 1 ครั้ง ครั้งก็เสร็จไป 1 ครั้งหวังว่า หัวหน้าวอร์ดที่เกี่ยวข้องจะได้ช่วยผลักดันเรื่องให้ดำเนินต่อไปอย่างต่อเนื่อง พร้อมกับมีการปรับปรนุงอยู่ตลอดเวลาครับ ...
สมคบ 21/2/55

วันเสาร์ที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

การก่อกำเนิด สหสาขาอีกครั้ง

วันนี้ (17 ก.พ. 2555) ได้มีการสนทนากันอีกครั้งใน PCT ตามงาน ต่อเนื่องงานต่างๆ จากการเอานำดื่มเข้าแลกของพี่แจง  ก็หวังว่าจะได้ผลลัพธ์แห่งงาน ออกมา แต่ว่า ต้องอาศัยความร่วมมือของทุกผู้คนในองค์กร
การประชุม สาม ช.ม. จะสูญเปล่าถ้าไม่ได้นำไปปฏิบัติ ตรงนี้เป็นปัญหาของทุกร.พ. ก็ว่าได้
หัวใจที่อยากจะทำปัจจุบันให้ดีขึ้น ในแง่ในมุมที่เราสนใจ นั่นเป็น ค่านิยมที่สำคัญ

วันนี้เป็นน่าจะเกิดสิ่งดีดี (หวังว่า ) คือเรื่องของ การดูแลผู้ป่วยแบบสหสาขา ดูแลแบบจัดเต็มในผู้ป่วยที่ดูแลยาก ซับซ้อน หรือในระดับ สาม.สี่ หรืออาจะมี ข้อบ่งชี้หรือข้อกำหนดอื่นๆ อีก ...
วันจันทร์นี้จะเริ่ม ใช้เวลาไม่มากครับ แต่ หวังว่าจะมีประโยชน์ต่อผู้ป่วยเป็นอย่างมาก อีกโมเดลของการพัฒนาคุณภาพในการดูแลผู้ป่วยในร.พ. ดอยสะเก็ด ...

ได้ดำเนินการ ตาม แนวทางยุทธศาสตร์ 6 ป. ได้มีการนำคุยเรื่องของ 6 ป. พบว่ายังมีปัญหาในการดำเนินการที่ต่อเนื่องอยู่บ้าง ...

วันนี้ยังมีมุมมองเรื่องของกาารช่วยเหลือคนจนจน อีกด้วย .. แต่ยังไม่มีวิธีการบริหารจัดการเท่าไหร่ แต่ก็มีหนทางอยู่บ้าง ค่อยคุยกันในวันต่อไป

วันพฤหัสบดีที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

เรื่องเล่าการดูแลด้วยหัวใจแห่งความเป็นมนุษย์

เมื่อนวันแห่งความรัก ปี 2555 ที่ผ่านมา ร.พ.ดอยสะเก็ดได้เปิดวงเล่าเรื่องการดูแลด้วยหัวใจแห่งความเป็นมนุษย์ มีเรื่องเล่าส่งเข้ามา 13 เรื่องครับ ค่อยๆเล่าเรื่องในบรรยากาศเบาเบาสบาบสบาย นอนบ้างนั่งบ้าง
มีเรื่องเล่าทั้งนอกร.พ.และ ในร.พ. แต่เรื่องที่ได้รางวัลไปก็จัดเป็นเรื่องเล่าฟอร์มใหญ่ เหมือนหนังฟอร์มใหญ่ ก็ย่อมเบียดคู้แข่งตกไปเป็นธรรมดา ก็เป็นที่น่าสังเกตครับว่าเรื่องเล่าที่มาจากข้างนอกร.พ. เป็นการดูแลผู้ป่วยที่บ้าน เกิดความผูกพัน มีเรื่องราวที่หลายมิติ  ต่อเนื่อง เห็นภาพแห่งการส้รางเสริมสุขภาพ เห็นภาพของควาเมป็นมนุษย์ได้ยาว มีพลอตที่ดี ... แต่เรื่องการประกวด ก็เป็นกุศโลบายอย่างหนึ่งครับ
ผมคิดว่า การที่มีคนมาเล่าเรื่องราวในการดูแลผู้ป่วยด้วยหัวใจแห่งความเป้นมนุษย์ร่วมกัน เป็นเรื่องที่ดี เป็นเรื่องที่จะทำให้องค์กรหรือร.พ. ตลบอบอวลไปด้วยเรื่องราวแห่งความรักที่ดีงามต่อไป ขอเพียงผู้จัดได้มีความอดทนที่จะเปิดเวทีแห่งความรักนี้ต่อไป อย่างต่อเนื่อง ก็จะเห็นผลได้ในไม่ช้า แน่นอน ครั้งนี้ก็ถือเป็นครั้งที่สอง ที่ผมเห็น แต่ก็มีคนกระซิบตอนอยู่ในวงเล่า ว่า ก็เคยมีก่อนหน้านี้อีกเหมือนกัน
 เรื่องเล่าที่ไม่ใช่เป็นเรื่องฟอร์มใหญ่อย่างเรื่องของการขี่รถมอเตอร์ไซต์ไปส่ง คนไข้ที่ไม่มีรถกลับบ้าน ผมเชื่อว่าถ้ามีเรื่องราวที่มีการเอื้ออาทรอย่างนี้มาแบ่งปัน ร.พ. เราจะเกิดแผ่นดินแผ่นดินทองเลยนะครับ
เรื่องของพยาบาลที่เพียงแค่เอามือไปกุมมือของผู้ป่วยที่กำลังเคว้งคว้าง เพียงเท่านี้ครับ ก็เป็นการที่ได้ดูแลผู้ป่วยด้วยหัวใจอันยิ่งใหญ่ ... เรื่องราวของการซ่อมรถเครื่องให้ผู้ป่วย เรื่องของ การแนะนำผู้ป่วยเท่าที่เราจะทำได้ เรื่องของความรู้สึกที่มีให้กันในกลุ่มเจ้าหน้าที่ หรือกลุ่มผู้ป่วย ... การช่วยชีวิตผู้ป่วยจากการ   ที่ทำให้คนไข้ไม่ฆ่าตัวตาย  ความรู้สึกที่ทำงานให้เจ้าหน้าที่ด้วยกัน  ฯลฯ  ผมว่าเรื่องเล็กเล็กที่รวมกันเป็นหลายร้อยเรื่องก็จักเป็นตำนานที่น่าจดจำไม่รู้ลืม ด้วยความรัก ...
อีกสองเดือน น่าจะมีวงเล่า อย่างนี้อีกครั้ง ... ชวนกันมาเล่ามาฟังนะครับ ..
สมคบ ....


วันจันทร์ที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

รูปธรรมที่ง่าย

เราต้องคิดว่า รูปธรรมที่ง่ายที่สุด ที่สามารถตอบสิ่งที่เป็นนามธรรมได้้หลายประเด็น เป็นสิ่งที่เราต้องค้นหา
ถ้าเรามีวิธีง่ายๆ ไม่ต้องประชุม ไม่ต้องนัดเวลา แต่เป็นงานสหสาขา เป็นงานที่สามารถนำเอาเครื่องมือต่างๆมาใช้ ในการดูแลผู้ป่วยให้ดี ... วัดผลได้ตามเป้าหมายที่วางไว้ ในแต่ละราย ... น่าจะเป็นทางออกที่ดี ในการพัฒนาคุณภาพ
อย่างถ้าเราประชุมคนไข้ที่ดูแลทุกวี่ทุกวันโดยผ่านสหสาขา เลือกเอารายที่ดูแลยากหรือว่าซับซ้อน..ก็ไม่ซีเรียสเรื่องcriteria แต่ว่าน่าจะเป็นที่รู้กัน ..
อันนี้น่าจะทำให้เกิดการดูแลผู้ป่วยที่ดีขึ้นหรือเปล่า

ข้อเสนแนะจากสรพ.ต่อการพัฒนาอย่างต่อเนื่องปี 2555


ประเด็นแนะนำ กิจกรรมที่จะดำเนินการ
การมุ่งเน้นผู้ป่วย  
  สอบถามความต้องการของผู้มารับบริการ            
  นำความต้องการมาปรับปรุง
  วิเคราะห์ความเสี่ยงในขั้นตอนบริการที่มีโอกาสละเมิดสิทธิผู้ป่วย
  ประเมินความพึงพอใจทุก 3 เดือน
  แจ้งผลการประเมินความพึงพอใจกลับไปยังหน่วยบริการ

วันศุกร์ที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

3Pของคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพดอยสะเก็ด


สถานการณ์การพัฒนาคุณภาพ ร.พงดอยสะเก็ด ณ. วันที่ 1 ก.พ. 2555
การสื่อสารโรดแมบไม่ชัดเจน
การทำงานไม่เป็นขั้นตอน น่าจะเรียงลำดับไป
บางครั้งเกิดความกดดันและเซ็ง
ความเข้าใจเพิ่มขึ้นประมาณ 20%
มีการสื่อสารเพิ่มขึ้น
เกิดการมีส่วนร่วมของผู้ปฏิบัติเพิ่มขึ้น
ทีมคร่อมมีงานหนักมากขึ้น
ความกังวลมากขึ้น
เจ้าหน้าที่รับงานมากกว่า 1 ทีม ทั้งทั้งที่ ผ.อ.บอกว่าอนุญาตให้ปรับได้
เครียดเพิ่มขึ้น
รู้สึกด้อยค่า
การถ่ายทอดเข็มมุ่งดีขึ้น
การที่ผ.อ.เดินราวน์ทำให้คึกคักขึ้น
การเยี่ยมหน่วยงาน เป้าหมายไม่มีความชัดเจน
รางวัลมีผลกระตุ้นในกิจกรรมต่างๆ

เป้าหมายคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพ

เป้าหมาย

ตัวชี้วัด
1.       เพื่อสร้างระบบพัฒนาคุณภาพเชื่อมโยง ประสาน สอดคล้องกันทั้งร.พ.
·         ร้อยละ 100 ของหน่วยงานทีมคร่อม มีแผนพัฒนา
·         ทำตามแผนได้ 80%
2.       ทีมคร่อมสายงานและหน่วยงานต่างๆผลิตผลงานคุณภาพอย่างต่อเนื่อง
·         นวัตกรรม 1 เรื่องต่อหน่วยงาน/ทีมคร่อมสายงานต่อปี
·         CQI หน่วยงานละ 5 เรื่องต่อปี
·         R2R 5 เรื่องต่อปี(ทั้ง ร.พ.)
·         หน่วยงานการส่งผลงานร่วม 100%
·         HA scoring > 3.0
·          
3.       บริการที่มีคุณภาพและมาตรฐาน
·         PCA
·         ผ่านมาตรฐานสายใยรัก
·         HPH
·         ISO 15800
·         QA พยาบาล
·         มาตรฐานHAยาเสพติด
·         มาตรฐานสุขศึกษา
·         มาตรฐานอาชีวอนามัย
·         มาตรฐานควบคุมโรค
·         Healthy workplace







ยุทธศาสตร์การพัฒนาคุณภาพโรงพยาบาลดอยสะเก็ด
1.       ส่งเสริม/สนับสนุนหน่วยงานและทีมคร่อมสายงานให้เกิดการผลงานพัฒนาคุณภาพ
a.       นำเสนอผลงานของทีมคร่อมสายงาน
b.      สร้างบรรยากาศ
                                                               i.      ปอยหลวงการพัฒนาคุณภาพ
                                                             ii.      การเยี่ยมสำรวจภายใน
                                                            iii.      Leadership round
                                                           iv.      Doisaket credit plus system
                                                             v.      KM กับการพัฒนา
c.       ....
2.       พัฒนาการสื่อสาร
a.       Website
b.      Facebook
c.        
3.       พัฒนาระบบคุณภาพให้สอดคล้องกันทั้งโรงพยาบาล
a.       ประกาศเข็มมุ่ง
b.      ประกาศ 9 ภารกิจเพื่อยกระดับการพัฒนาคุณภาพ ร.พ.
c.       จัดทำ roadmap
d.      การจัดทำแผนพัฒนาคุณภาพ
e.      ติดตามตัวชี้วัด indicator day
4.       พัฒนาบุคลากรเรื่องการพัฒนาคุณภาพ
a.       กรรมการพัฒนาคุณภาพไปอบรมหลักสูตรต่างๆ เพื่อกลับมาถ่ายทอด
b.      อบรมศัพท์ HA
c.       คุยเล่นมาตรฐานแต่ละทีมคร่อม
d.      Workshop การเขียนแบบประเมิน
e.      พัฒนาระบบพี่เลี้ยง
5.       พัฒนาการทำงานเป็นทีม
a.       Inner award (หน่วยงานหรือทีมที่ตอบสนองลูกค้าภายในยอดเยี่ยม)
b.       p