วันพุธที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

สรุปเวทีคุณภาพวันที่ 30 พ.ย. 2554 เรื่อง การทบทวนวิสัยทัศน์


สรุปเวทีคุณภาพวันที่ 30 พ.ย. 2554 เรื่อง การทบทวนวิสัยทัศน์
ผู้เข้าร่วมการสนทนา ... กรรมการพัฒนาคุณภาพ

บทเรียนที่ได้รับ ...
1.        การกำหนดรูปแบบที่ออกจากกรรมการพัฒนาคุณภาพ ถ้าไม่สามารถสื่อสารกับผู้ปฏิบัติหรือหน้างาน สามารถปรับรูปแบบกันได้ และนำกลับมาเรียนรู้ร่วมกัน
2.       การกำหนดตัวชี้วัดวิสัยทัศน์นั้นไม่น่าจะเอารายละเอียดย่อยย่อยมาใช้ แต่ ควรดูตัวชี้วัดที่เคยเก็บอยู่เดิมร่วมด้วย
3.       ต้องระวังการกำหนดอะไรลงไปให้หน่วยงาน ระวังอาจเกิดการสับสน
ผลการดำเนินงาน ที่เกิดขึ้นอันเนื่องมาจากวิสัยทัศน์
ประเด็นเรื่องการบริการฉุกเฉิน
ชาวบ้านรู้จัก1669
มีเครือข่าย EMS
มีการสนับสนุน  1ตำบล 1 กู้ภัย
เกิดระบบ fast tract ในกลุ่มโรค MI,stroke
ประเด็นเรื่องพฤติกรรมสุขภาพ
เครือข่ายสุขภาพต่างๆในชุมชน
โครงการปรับเปลี่ยนสุขภาพจนท.
นโยบายปลอดเหล้างานศพ
นโยบายร.พ.ส่งเสริมสุขภาพ เช่น ร.พ.ปลอดบุหรี่ ร.พ.ปลอดเหล้า งานเลี้ยงNO alcohol
รณรงค์หมวกกันน๊อค
อบรมประชากรกลุ่มเสี่ยง

คิดว่าวิสัยทัศน์ได้ถึงเป้าหมายหรือยัง
เอาอะไรมาวัด
ในวงสนทนาสรุปเหมือนกับว่า เราต้องใช้ตัวชี้วัด ซึ่งในความจริงแล้วไม่ได้เซตไว้แต่แรก แต่สามารถดึงจากส่วนต่างๆออกมาได้ แต่ในบางคนก็บอกว่า แต่อาจจะไม่มีก็ได้ในหน่วยงาน หรืออาจจะมีแต่ตัวชี้วัดเดินทางมาไม่ถึงก.พัฒนาคุณภาพ  แต่ในบางคนเสนอว่า เราดึงเอามาจาก ยุทธศาสตร์ได้หรือไม่


ประเมินด้วยอารมณ์ความรู้สึก สายตาทั่วไป ว่าถึงเป้าหมายหรือยัง
            คิดว่ายังไม่ถึงเป้าหมายเท่าไหร่นัก
เรื่องราวที่บอกว่ายังไม่บรรลุ
·         ยังมีผู้ป่วยมาสูบบุหรี่ข้างห้องตรวจแพทย์ด้านหลัง
·         ดื่มเหล้าในงานเลี้ยงรพ. แม้ว่าจะดูลดลง แต่ก็ยังมีบ้าง
·         ไม่สวมหมวกกันน๊อคในร.พ.
·         พฤติกรรมการบริโภคไม่เหมาะสม
·         ไม่ออกกำลังกาย
·         มีการจัดการความเครียดไม่เหมาะสม
·          
           
ควรเปลี่ยนวิสัยทัศน์หรือไม่
·         การเปลี่ยนนั้นกระบวนการยุ่งยากพอสมควร
·         เกรงว่าจะเกิดการขาดความต่อเนื่อง
·         ไม่น่าจะเปลี่ยนเพราะยังไม่ถึงเป้าหมาย
·         ในเรื่องของการเชื่อมต่อน่าจะคิดกระบวนการที่ดีต่อไป
·         อย่างไรก็ตามเป้าหมายของแต่ละหน่วยงานได้ถูกกำหนดจาก วิสัยทัศน์ ส่วนหนึ่ง จากบริบทส่วนหนึ่ง จากวิชาชีพของตนส่วนหนึ่ง
·         วิสัยทัศน์เป็นการบอกตัวตน บอกจุดเด่นของเราซึ่งก็คือ ในสองเรื่องที่เราวิเคราะห์กันมา คือเรื่องอุบัติเหตุเกิดบ่อยและ เรื่อง NCD ก็ป็น top 5 ของร.พ.ในทุกปี
·         มีการพูดถึงเรื่องกลัวว่าจะไปไม่ถึง แต่มีคนในวงบอกว่า ไม่เป็นไร เราตั้งไว้ก่อน
·         ไม่จำเป็นต้องปรับก็ได้ แต่ทำอย่างไรให้ถึงหน่วยงาน หน้างาน และ เชื่อมกับงานที่เขาทำอยู่

สรุปกันว่าเอาวิสัยทัศน์เดิม แต่ต้องปรับเปลี่ยนวิธีการเชื่อมโยงสู่หน่วยงาน ทีมนำ ต่างๆ

วิธีการสื่อสาร
·         ทำหนังสือแจ้งลงไปอีกครั้ง
·         กำหนดให้แต่ละหน่วยงานได้วางแผนในการกำหนดกิจกรรม ที่จะทำขึ้นเพื่อที่สอดคล้อง กับเข็มมุ่งวิสัยทัศน์
·         บูรณาการกับกิจกรรมเดิมคือ ที่จะนัดกันนำเสนอในวันที่ 28 ธ.ค. 54
·         แบ่งโซนรับผิดชอบในด้านการสื่อสาร ถามไถ่ พี่เลี้ยงในแต่ละหน่วยงาน โดยใช้กรรมการแต่ละท่านเป้นหลักแล้วเสริมในส่วนที่ไม่ได้เข้ามาเป็นกรรมการ
·         ต้องเข้าใจกันในทีมกรรมการพัฒนาคุณภาพให้ดีก่อน
·         ใช้วิธีการกำหนดเข็มมุ่งไปให้แต่ละหน่วยงานทีมนำ เพื่อให้คิดออกมาเป็นกิจกรรมให้สอดคล้อง กบัที่วางไว้
ยังมีเรื่องค้างคาที่ต่อเนื่ก็องจาก วิสัยทัศน์ คือเรื่องของแผนยุทธศาสตร์ แต่มีกำหนดเรื่อง ประเด็นยุทธศาสตร์ไว้แล้ว
ได้แก่ ..
ยุทธศาสตร์หลัก (SO)
1.       พัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการระบบบริการสุขภาพของเครือข่ายบริการสุขภาพให้ตอบสนองต่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ
2.       เพิ่มศักยภาพและความสามารถของเครือข่าย ในการให้บริการการแพทย์ฉุกเฉินที่มีคุณภาพ

ยุทธศาสตร์ขยายงาน (ST)
3.       สร้างสรรค์องค์ความรู้ร่วมกับภาคีเครือข่าย ในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ เพื่อเพิ่มศักยภาพในการใช้ชีวิตตามวิถีพอเพียง

ยุทธศาสตร์การพัฒนา (WO)
4.       เพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารจัดการและสนับสนุนที่ดี ในการขับเคลื่อนระบบสุขภาพแบบมุ่งเน้นผลสัมฤทธิ์
ยุทธศาสตร์เพื่อการปรับปรุง (WT)
5.       ปรับปรุงรูปแบบการประสานงานเชิงบูรณาการ เพื่อลดปัจจัยเสี่ยงและภัยคุกคามทางสุขภาพ

วัตถุประสงค์เชิงกลยุทธ์
·         เพื่อให้ประชาชนได้เข้าถึงระบบบริการสุขภาพแบบบูรณาการอย่างมีคุณภาพ
·         เพื่อให้ประชาชนและผู้มาเยือนได้รับการบริการด้านการแพทย์ฉุกเฉินอย่างรวดเร็วและมีมาตรฐาน
·         เพื่อให้เครือข่ายมีการพัฒนาระบบบริหารจัดการทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ  และเป็นธรรม
·         เพื่อให้เครือข่ายพัฒนาองค์ความรู้ด้านสุขภาพ  ที่จะส่งเสริมให้ประชาชนเกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม

ซึ่งจะได้ประชุมเพื่อต่อเนื่องต่อไป ...

วันนี้ได้กำหนดว่า   เข็มมุ่งคืออะไรใน 1 ปีข้างหน้า
1.       หน่วยงานมีกระบวนการจัดการเรื่องที่เป็นเรื่องฉุกเฉินสำหรับหน่วยงาน
2.       หน่วยงานมีระบบสำหรับ แก้,เตรียมการรองรับ ภัยพิบัติฉุกเฉิน และตรวจสอบบริบทของแต่ละหน่วยงาน
3.       หน่วยงานมีรูปแบบการปรับพฤติกรรมเป้าหมายในกลุ่มเป้าหมาย

ตัวชี้วัดวิสัยทัศน์
1.       อัตราตายในผู้ป่วยฉุกเฉิน ….
2.       การเข้าถึงบริการ EMS  > 50%
3.       ร้อยละของจำนวนครังที่ออกเหตุไม่เกิน 4 นาที ไม่น้อยกว่า90%
4.       1ตำบล1หน่วยกู้ภัย
5.       ร้อยละของผู้ป่วยกลุ่มเป้าหมาย ได้มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเป้าหมาย
6.       อัตราการ readmit ในผู้ป่วย NCD
7.       จนท.มีกลุ่มเสี่ยงไม่เกินร้อยละ 10 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น